2 ภาพนี้ ถ่ายจากบนรถ...สถานที่ๆ เจ้าศากยะ ที่รอดชีวิตจากการล้างแค้นของพระเจ้าวิฑูทภะมาสร้างเมืองใหม่ที่นี่
Monday, 31 May 2010
Friday, 7 May 2010
กลิ่นที่หอมทวนลม II
อานิสงส์ของศีล ๕
ผู้ประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม อย่างน้อยอยู่ในศีล ๕ ย่อมได้รับผล เรียกว่า ได้อานิสงส์ ดังต่อไปนี้
อานิสงส์ของศีลสิกขาบทที่ ๑
ผู้รักษาศีลข้อ ๑ คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย จากโลกนี้แล้วไปสู่สุคติ ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้อานิสงส์ ๒๓ ประการ คือ มีร่างกายสมประกอบไม่พิการ, มีรูปร่างสูงต่ำพอสมส่วน, มีเชาว์ว่องไว, มีเท้าถูกส่วนเหมาะเจาะ, มีท่าทางสง่าราศี, มีองคาพยพสะอาดปราศจากตำหนิแผลไฝ, มีลักษณะอ่อนละมุนละม่อน, มีความสุขสมบูรณ์, มีลักษณะกล้าหาญ, มีกำลังมาก, มีถ้อยคำสละสลวยเพราะพริ้ง, มีบริษัทที่ใครๆ จะทำลายไม่ได้, มีลักษณะไม่สะดุ้งตื่นเต้นตกใจ, ไม่มีศัตรูคิดทำร้ายได้, ไม่ตายด้วยความเพียรของคนอื่น, มีบริวารอยู่ทุกแห่งหน, มีรูปสวยงาม, มีทรวดทรงงาม, มีความเจ็บไข้น้อย, ไม่มีเรื่องเศร้าใจ, เป็นที่รักของชาวโลก, ไม่พลัดพรากจากผู้คนและสิ่งที่รักที่ชอบใจ, มีอายุยืน
อานิสงส์ของศีลสิกขาบทที่ ๒
ผู้รักษาศีลข้อ ๒ คือ เว้นจากลักฉ้อ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย จากโลกนี้แล้วไปสู่สุคติ ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ มีทรัพย์สมบัติมาก, มีข้าวของและอาหารเพียงพอ, หาโภคทรัพย์ได้ไม่ขาดสาย, โภคทรัพย์ที่ยงไม่ได้ ก็จะได้, โภคทรัพย์ที่ได้ไว้แล้ว ก็ยั่งยืน, หาสิ่งที่ต้องการได้รวดเร็ว, โภคสมบัติไม่กระจัดกระจายด้วยราชภัย โจรภัย อุทกภัย อัคคีภัย หรือถูกฉ้อโกง, หาทรัพย์ได้โดยไม่ถูกแบ่ง, จะได้โลกุตตรทรัพย์, ไม่เคยรู้ ไม่เคยได้ยิน คำว่าไม่มี, อยู่ที่ไหนเป็นสุขสำราญ
อานิสงส์ของศีลสิกขาบทที่ ๓
ผู้รักษาศีลข้อ ๓ คือ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย จากโลกนี้แล้วไปสู่สุคติ ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้อานิสงส์ ๒๐ ประการ คือ ไม่มีศัตรู, เป็นที่รักของปวงชน, หาข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ที่อยู่ได้ง่าย, หลับนอนเป็นสุข, ตื่นขึ้นเป็นสุข, ปลอดภัยในอบาย, เกิดเป็นหญิงชายสมบูรณ์, ไม่มักโกรธ, ทำอะไรเป็นระเบียบเรียบร้อย, ทำอะไรโดยเปิดเผย คือ มีคนไว้วางใจไม่ระแวงสงสัย, มีท่าทางสง่าคอไม่ตก, มีหน้าไม่ก้ม คือ หน้ารับแขก, เป็นที่รักของเพื่อนฝูง, มีตา หู จมูก ลิ้น กาย บริบูรณ์, มีลักษณะสมเป็นชายเป็นหญิง, ไม่มีใครรังเกียจ, หากินได้ง่ายไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย, อยู่เป็นสุขทุกแห่งหน, ไม่มีภัยแต่ใครๆ, ไม่ค่อยพลัดพรากจากคู่รัก
อานิสงส์ของศีลสิกขาบทที่ ๔
ผู้รักษาศีลข้อ ๔ คือ เว้นจากพูดเท็จล่อลวง ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย จากโลกนี้แล้วไปสู่สุคติ ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้อานิสงส์ ๑๔ ประการ คือ มีตา หู จมูก กลิ่นกายผ่องใส, มีวาจาสละสลวยไพเราะ, มีฟันเสมอแนบสนิทสะอาด, ไม่อ้วนนัก, ไม่ผอมนัก, ไม่ต่ำนัก, ไม่สูงนัก, ได้สัมผัสสบาย, ปากหอมเหมือนดอกบัว, มีบริวารเชื่อฟัง, มีถ้อยคำที่คนอื่นเอื้อเฟื้อเชื่อถือ, มีลิ้นบางอ่อนแดงเหมือนกลีบดอกบัว, มีใจหนักแน่นมั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน, ไม่ติดอ่าง, ไม่เป็นใบ้
อานิสงส์ของศีลสิกขาบทที่ ๕
ผู้รักษาศีลข้อ ๕ คือ เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัย ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย จากโลกนี้แล้วไปสู่สุคติ ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้อานิสงส์ ๓๕ ประการ คือ รู้ทันในกรณียกิจได้เร็วทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน, มีสติมั่นคงทุกเมื่อ, ไม่เป็นบ้า, มีความรู้สึกง่าย, ไม่หวั่นไหวตามใครในทางผิด, ไม่งุนงงเซอะซะเซ่อซ่า, ไม่เป็นใบ้ ไม่มัวเมา, ไม่พลั้งเผลอ, ไม่หลงใหล, ไม่สะดุ้งหวาดกลัว, ไม่มีเรื่องรำคาญใจ, ไม่มีใครริษยา, มีความขวนขวายพอสมตัว, มีแต่ความสุข, มีคนนับถือยำเกรง, ชอบพูดแต่คำสัตย์จริง, ไม่มีใครส่อเสียด, ไม่มีใครพูดหยาบด้วย, ไม่ชอบพูดเล่นโปรยประโยชน์, ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน, มีความกตัญญู, มีความกตเวที, ไม่ตระหนี่, รู้จักเฉลี่ยเจือจาน, มีศีลธรรม, ซื่อตรง, ไม่มักโกรธ, มีความละอายแก่ใจ, รู้จักกลัวบาป, มีความเห็นถูกทาง, มีปัญญามาก, มีความเฉลียวฉลาด, มีลักษณะเป็นบัณฑิต, ฉลาดรู้เท่าทันในความเจริญและความเสื่อม
สำหรับโทษที่เกิดจากการประพฤติผิดศีลทั้ง ๕ ข้อ กล่าวคือไม่รักษาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี เป็นศีลขาด ทะลุ ด่าง และพร้อย ก็ย่อมจะได้รับผลกรรมตรงกันข้ามกับอานิสงส์ดังกล่าวข้างต้น
(เรียบเรียงโดยคุณebusiness)
ผู้ประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม อย่างน้อยอยู่ในศีล ๕ ย่อมได้รับผล เรียกว่า ได้อานิสงส์ ดังต่อไปนี้
อานิสงส์ของศีลสิกขาบทที่ ๑
ผู้รักษาศีลข้อ ๑ คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย จากโลกนี้แล้วไปสู่สุคติ ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้อานิสงส์ ๒๓ ประการ คือ มีร่างกายสมประกอบไม่พิการ, มีรูปร่างสูงต่ำพอสมส่วน, มีเชาว์ว่องไว, มีเท้าถูกส่วนเหมาะเจาะ, มีท่าทางสง่าราศี, มีองคาพยพสะอาดปราศจากตำหนิแผลไฝ, มีลักษณะอ่อนละมุนละม่อน, มีความสุขสมบูรณ์, มีลักษณะกล้าหาญ, มีกำลังมาก, มีถ้อยคำสละสลวยเพราะพริ้ง, มีบริษัทที่ใครๆ จะทำลายไม่ได้, มีลักษณะไม่สะดุ้งตื่นเต้นตกใจ, ไม่มีศัตรูคิดทำร้ายได้, ไม่ตายด้วยความเพียรของคนอื่น, มีบริวารอยู่ทุกแห่งหน, มีรูปสวยงาม, มีทรวดทรงงาม, มีความเจ็บไข้น้อย, ไม่มีเรื่องเศร้าใจ, เป็นที่รักของชาวโลก, ไม่พลัดพรากจากผู้คนและสิ่งที่รักที่ชอบใจ, มีอายุยืน
อานิสงส์ของศีลสิกขาบทที่ ๒
ผู้รักษาศีลข้อ ๒ คือ เว้นจากลักฉ้อ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย จากโลกนี้แล้วไปสู่สุคติ ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ มีทรัพย์สมบัติมาก, มีข้าวของและอาหารเพียงพอ, หาโภคทรัพย์ได้ไม่ขาดสาย, โภคทรัพย์ที่ยงไม่ได้ ก็จะได้, โภคทรัพย์ที่ได้ไว้แล้ว ก็ยั่งยืน, หาสิ่งที่ต้องการได้รวดเร็ว, โภคสมบัติไม่กระจัดกระจายด้วยราชภัย โจรภัย อุทกภัย อัคคีภัย หรือถูกฉ้อโกง, หาทรัพย์ได้โดยไม่ถูกแบ่ง, จะได้โลกุตตรทรัพย์, ไม่เคยรู้ ไม่เคยได้ยิน คำว่าไม่มี, อยู่ที่ไหนเป็นสุขสำราญ
อานิสงส์ของศีลสิกขาบทที่ ๓
ผู้รักษาศีลข้อ ๓ คือ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย จากโลกนี้แล้วไปสู่สุคติ ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้อานิสงส์ ๒๐ ประการ คือ ไม่มีศัตรู, เป็นที่รักของปวงชน, หาข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ที่อยู่ได้ง่าย, หลับนอนเป็นสุข, ตื่นขึ้นเป็นสุข, ปลอดภัยในอบาย, เกิดเป็นหญิงชายสมบูรณ์, ไม่มักโกรธ, ทำอะไรเป็นระเบียบเรียบร้อย, ทำอะไรโดยเปิดเผย คือ มีคนไว้วางใจไม่ระแวงสงสัย, มีท่าทางสง่าคอไม่ตก, มีหน้าไม่ก้ม คือ หน้ารับแขก, เป็นที่รักของเพื่อนฝูง, มีตา หู จมูก ลิ้น กาย บริบูรณ์, มีลักษณะสมเป็นชายเป็นหญิง, ไม่มีใครรังเกียจ, หากินได้ง่ายไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย, อยู่เป็นสุขทุกแห่งหน, ไม่มีภัยแต่ใครๆ, ไม่ค่อยพลัดพรากจากคู่รัก
อานิสงส์ของศีลสิกขาบทที่ ๔
ผู้รักษาศีลข้อ ๔ คือ เว้นจากพูดเท็จล่อลวง ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย จากโลกนี้แล้วไปสู่สุคติ ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้อานิสงส์ ๑๔ ประการ คือ มีตา หู จมูก กลิ่นกายผ่องใส, มีวาจาสละสลวยไพเราะ, มีฟันเสมอแนบสนิทสะอาด, ไม่อ้วนนัก, ไม่ผอมนัก, ไม่ต่ำนัก, ไม่สูงนัก, ได้สัมผัสสบาย, ปากหอมเหมือนดอกบัว, มีบริวารเชื่อฟัง, มีถ้อยคำที่คนอื่นเอื้อเฟื้อเชื่อถือ, มีลิ้นบางอ่อนแดงเหมือนกลีบดอกบัว, มีใจหนักแน่นมั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน, ไม่ติดอ่าง, ไม่เป็นใบ้
อานิสงส์ของศีลสิกขาบทที่ ๕
ผู้รักษาศีลข้อ ๕ คือ เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัย ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย จากโลกนี้แล้วไปสู่สุคติ ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้อานิสงส์ ๓๕ ประการ คือ รู้ทันในกรณียกิจได้เร็วทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน, มีสติมั่นคงทุกเมื่อ, ไม่เป็นบ้า, มีความรู้สึกง่าย, ไม่หวั่นไหวตามใครในทางผิด, ไม่งุนงงเซอะซะเซ่อซ่า, ไม่เป็นใบ้ ไม่มัวเมา, ไม่พลั้งเผลอ, ไม่หลงใหล, ไม่สะดุ้งหวาดกลัว, ไม่มีเรื่องรำคาญใจ, ไม่มีใครริษยา, มีความขวนขวายพอสมตัว, มีแต่ความสุข, มีคนนับถือยำเกรง, ชอบพูดแต่คำสัตย์จริง, ไม่มีใครส่อเสียด, ไม่มีใครพูดหยาบด้วย, ไม่ชอบพูดเล่นโปรยประโยชน์, ไม่เกียจคร้านทุกคืนวัน, มีความกตัญญู, มีความกตเวที, ไม่ตระหนี่, รู้จักเฉลี่ยเจือจาน, มีศีลธรรม, ซื่อตรง, ไม่มักโกรธ, มีความละอายแก่ใจ, รู้จักกลัวบาป, มีความเห็นถูกทาง, มีปัญญามาก, มีความเฉลียวฉลาด, มีลักษณะเป็นบัณฑิต, ฉลาดรู้เท่าทันในความเจริญและความเสื่อม
สำหรับโทษที่เกิดจากการประพฤติผิดศีลทั้ง ๕ ข้อ กล่าวคือไม่รักษาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี เป็นศีลขาด ทะลุ ด่าง และพร้อย ก็ย่อมจะได้รับผลกรรมตรงกันข้ามกับอานิสงส์ดังกล่าวข้างต้น
(เรียบเรียงโดยคุณebusiness)
กลิ่นที่หอมทวนลม
อุโบสถศีล
อุโบสถศีล คือ ศีล ๘ ที่อุบาสก อุบาสิกาสมาทานรักษาในวันอุโบสถ คือวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ, และวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด องค์ประกอบของอุโบสถศีลมี ๘ ข้อ เช่นเดียวกับศีล ๘ ทุกประการ เพียงแต่ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะรักษาเฉพาะวันอุโบสถ ในวันหนึ่งคืนหนึ่ง ก็สมาทานอุโบสถศีล คำว่า วันหนึ่งคืนหนึ่ง ท่านนับตั้งแต่อรุณขึ้นของวันที่รักษา ไปจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ ถ้ารักษาไม่ครบตามเวลาที่กำหนดนี้ ก็ไม่ชื่อว่า วันหนึ่งคืนหนึ่ง
ในอังคุตรนิกาย ติกนิบาต หน้า ๓๘๒-๔๐๕ อุโบสถสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับนางวิสาขามิคารมารดาว่า ผู้ที่จะสมาทานรักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อคิดว่า พรุ่งนี้เราจักสมาทานอุโบสถ ควรจะเตรียมตัวให้พร้อมก่อน ดังนี้
ควรตรวจสอบและมอบหมายการงานที่จะต้องจัดแจงไว้ก่อนให้เรียบร้อย ควรเปล่งวาจา สมาทานอุโบสถในสำนักภิกษุ ภิกษุณี หรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้รู้ลักษณะของศีล ๘ ตั้งแต่เวลาที่อรุณขึ้น ผู้ที่ไม่รู้บาลี ควรอธิษฐานในความหมายว่า ข้าพเจ้าขออธิษฐานองค์อุโบสถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว และควรเปล่งวาจาสมาทาน หากในที่นั้นไม่มีภิกษุ ภิกษุณี หรืออุบาสก อุบาสิกา ก็เปล่งวาจาอธิษฐานด้วยตนเอง (หรือเปล่งวาจาต่อหน้าพระพุทธรูป)เมื่อสมาทานอุโบสถแล้ว ไม่พึงวิพากษ์วิจารณ์ คือ ติหรือชมความดี ความงาม หรือความบกพร่องของผู้อื่น
เมื่อบริโภคอาหารเช้าแล้ว มุ่งตรงไปยังวิหารเพื่อฟังธรรม หรือมนสิการอารมณ์กัมมัฏฐาน ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งใน ๔๐ ประการ อุโบสถศีล เป็นศีลรวม ถ้าขาดองค์ใดองค์หนึ่ง ก็ไม่เรียกว่าอุโบสถศีล ตามพระพุทธบัญญัติ เพราะฉะนั้น การล่วงศีลหรือขาดอุโบสถศีลเพียงข้อเดียว ก็ถือว่าขาดทั้ง ๘ ข้อ ผู้ที่รักษาอุโบสถศีล จึงควรสำรวมระวังกาย วาจาเป็นพิเศษ.
อุโบสถศีล คือ ศีล ๘ ที่อุบาสก อุบาสิกาสมาทานรักษาในวันอุโบสถ คือวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ, และวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด องค์ประกอบของอุโบสถศีลมี ๘ ข้อ เช่นเดียวกับศีล ๘ ทุกประการ เพียงแต่ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะรักษาเฉพาะวันอุโบสถ ในวันหนึ่งคืนหนึ่ง ก็สมาทานอุโบสถศีล คำว่า วันหนึ่งคืนหนึ่ง ท่านนับตั้งแต่อรุณขึ้นของวันที่รักษา ไปจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ ถ้ารักษาไม่ครบตามเวลาที่กำหนดนี้ ก็ไม่ชื่อว่า วันหนึ่งคืนหนึ่ง
ในอังคุตรนิกาย ติกนิบาต หน้า ๓๘๒-๔๐๕ อุโบสถสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับนางวิสาขามิคารมารดาว่า ผู้ที่จะสมาทานรักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อคิดว่า พรุ่งนี้เราจักสมาทานอุโบสถ ควรจะเตรียมตัวให้พร้อมก่อน ดังนี้
ควรตรวจสอบและมอบหมายการงานที่จะต้องจัดแจงไว้ก่อนให้เรียบร้อย ควรเปล่งวาจา สมาทานอุโบสถในสำนักภิกษุ ภิกษุณี หรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้รู้ลักษณะของศีล ๘ ตั้งแต่เวลาที่อรุณขึ้น ผู้ที่ไม่รู้บาลี ควรอธิษฐานในความหมายว่า ข้าพเจ้าขออธิษฐานองค์อุโบสถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว และควรเปล่งวาจาสมาทาน หากในที่นั้นไม่มีภิกษุ ภิกษุณี หรืออุบาสก อุบาสิกา ก็เปล่งวาจาอธิษฐานด้วยตนเอง (หรือเปล่งวาจาต่อหน้าพระพุทธรูป)เมื่อสมาทานอุโบสถแล้ว ไม่พึงวิพากษ์วิจารณ์ คือ ติหรือชมความดี ความงาม หรือความบกพร่องของผู้อื่น
เมื่อบริโภคอาหารเช้าแล้ว มุ่งตรงไปยังวิหารเพื่อฟังธรรม หรือมนสิการอารมณ์กัมมัฏฐาน ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งใน ๔๐ ประการ อุโบสถศีล เป็นศีลรวม ถ้าขาดองค์ใดองค์หนึ่ง ก็ไม่เรียกว่าอุโบสถศีล ตามพระพุทธบัญญัติ เพราะฉะนั้น การล่วงศีลหรือขาดอุโบสถศีลเพียงข้อเดียว ก็ถือว่าขาดทั้ง ๘ ข้อ ผู้ที่รักษาอุโบสถศีล จึงควรสำรวมระวังกาย วาจาเป็นพิเศษ.