ว่างจากฟังธรรม เราก็กิน...มีความสุขมากเลย ^_^
Friday, 27 August 2010
Wednesday, 25 August 2010
Tuesday, 24 August 2010
ยายผู้ไม่ยินดีในวิมาน
นิทานเรื่องยายผู้ไม่ยินดีในวิมาน
มีนิทานเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของยายคนหนึ่งแกทำบุญสร้างโบสถ์ วิหาร สร้างวัด ให้ทานแก่บุคคล ถวายเครื่องอุปโภค บริโภคแด่พระสงฆ์จำนวนมากมีครั้งหนึ่งเทวดาท่านดลบันดาลให้ยายได้เห็นวิมาน อาหารที่เป็นทิพย์ พร้อมทั้งบริวารที่รอยายอยู่บนสวรรค์ และบอกกับยายว่านี่คือวิมานของยาย นี่คืออาหารของยาย นี่คือบริวารของยาย เมื่อยายตายโลกมนุษย์แล้ว วิมานนี้ อาหารนี้ พร้อมทั้งบริวารเหล่านี้จะเป็นของยาย ด้วยหวังจะให้ยายยินดี แต่ยายกลับไม่ได้รู้สึกยินดีกับวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารเหล่านั้นเลย เพราะยายเข้าใจในพระธรรม รู้ซึ้งในพระธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี ยายเห็นความ"ไม่เที่ยง" ยายเห็นว่าแม้แต่พรหมชั้นสูงสุดที่มีอายุยาวนานถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป พระพุทธเจ้าท่านก็เรียกว่า “ท่านผู้มีอายุ" คือยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปเมื่อหมดอายุก็ต้องจุติ(ดับ,ตาย)จากภพนั้นและมีกำเนิดในภพอื่นต่อไป ยายเห็นว่าความสุขนั้นเป็น "วิปรินามธรรม ที่สามารถแปรเปลี่ยนกลับเป็นทุกข์ได้" ยายรู้ดีว่าบุญที่ยายทำนั้นจะเป็นเครื่องนำไปสู่สุคติสวรรค์ และยายอาจจะได้เสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั่วอายุหนึ่ง อาจจะสัก ๒๕๐๐ ปี แต่เมื่อหมดอายุจากภพนั้นแล้ว ยายกลัวว่ายายอาจจะได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในสมัยกลียุค เป็นยุคที่โลกมนุษย์มีแต่ความทุกข์ยากลำบาก เป็นยุคที่ไม่มีธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว เป็นยุคที่พุทธศาสนาครบ ๕๐๐๐ ปีแล้ว ศาสนาพุทธเสื่อมไปแล้วตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงพยากรณ์ไว้ ยายกลัวว่าจะประสบกับความทุกข์ในช่วงสมัยนั้น กลัวว่าจะไม่ได้พบกับสัจจธรรมในช่วงสมัยนั้น ยายจึงไม่รู้สึกยินดีในวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารเหล่านั้น เมื่อเห็นในทุกข์อันเกิดจากภพ ยายจึงไม่ปรารถนาในภพ ยายปรารถนาที่จะออกจากภพ จึงเพียรศึกษาพระธรรม เพียรปฏิบัติตามองค์มรรควิธี เพื่อให้ถึงซึ่งความดับแห่งภพ เวลาที่ยายทำบุญบริจาคทาน ยายก็ไม่ปรารถนาในภพ ไม่ปรารถนาว่าจะได้ไปสู่วิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารในภพใดๆ เพราะยายรู้ดีว่านั่นคือ "ภวตัณหา"(ยินดีติดใจในภพ) ยายทำบุญบริจาคทานก็เพราะยายเพียรพยายามที่จะทำให้โลภะเบาบางลง ยายรู้ว่าการทำบุญบริจาคทานเพื่อที่จะขจัดโลภะนี้คือกุศลที่มีอานิสงส์มากกว่าบุญ ไม่ใช่เป็นแค่บุญ เพราะการทำบุญอย่างเดียวไม่อาจทำให้ยายหลุดพ้นได้ แต่กุศลคือสิ่งที่ทำให้ยาย คิด พูด และกระทำสิ่งใดๆอย่างฉลาด รู้เท่าทัน โลภะ โทสะ โมหะ ต่างหากจะทำให้ยายหลุดพ้นได้ นอกจากนี้ ยายยังได้เพียรเจริญเมตตาธรรมก็เพื่อที่จะทำให้โทสะเบาบางลง เพื่อขจัดโทสะให้สิ้นไป ยายเพียรทำจิตให้ผ่องใสควรแก่งาน เพื่อน้อมไปสู่วิชชา ๓ เพื่อความสิ้นอาสวะ เพื่อละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ให้ได้(เครื่องร้อยรัดสัตว์๑๐ อย่างให้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะ)
"เพื่อบรรลุโสดาบันในชาตินี้ ซึ่งจะไม่มีความเสื่อมลงได้อีก เพื่อบรรลุสกทาคามีในชาตินี้ ซึ่งจะกลับมาเกิดในโลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพื่อบรรลุอนาคามีในชาตินี้ ซึ่งจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในสวรรค์ชั้นพรหมสุทธาวาส ไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีก เพื่อบรรลุอรหันต์นิพพานในชาตินี้" เพราะจุดมุ่งหมายของยาย คือปรมัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ นิพพาน ยายเพียรทำอยู่อย่างนี้โดยที่ยายไม่ได้คำนึงถึง ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในปัจจุบัน และสัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในภายหน้าเลย "เพราะยายรู้ดีว่า ประโยชน์สองอย่างนี้ยายจะพึงมีพึงได้อยู่แล้วจากการกระทำที่ดีเป็นบุญเป็นกุศลในปัจจุบันของยายโดยไม่จำเป็นต้องเพ่งเล็งขวนขวาย นี่คือจุดมุ่งหมายของยายผู้ไม่ยินดีในวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวาร ในสุคติภพใดๆ" และยายได้กล่าวภาษิตฝากถึงผู้ที่ยังปรารภนาในประโยชน์ว่า
“ ผู้ไม่เห็นในทุกข์ ย่อมไม่ปรารถนาที่จะออกจากทุกข์
ผู้ไม่เห็นในคุณของพระนิพพาน ย่อมไม่ปรารถนาปรมัตถประโยชน์
ผู้ไม่เห็นในปรมัตถประโยชน์ ย่อมไม่ปรารภความเพียร"
(ที่มา..แหล่งรวบรวมกรณีศึกษาจิต วิญญาณ ชีวิตหลังความตาย และการเกิดใหม่)
มีนิทานเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของยายคนหนึ่งแกทำบุญสร้างโบสถ์ วิหาร สร้างวัด ให้ทานแก่บุคคล ถวายเครื่องอุปโภค บริโภคแด่พระสงฆ์จำนวนมากมีครั้งหนึ่งเทวดาท่านดลบันดาลให้ยายได้เห็นวิมาน อาหารที่เป็นทิพย์ พร้อมทั้งบริวารที่รอยายอยู่บนสวรรค์ และบอกกับยายว่านี่คือวิมานของยาย นี่คืออาหารของยาย นี่คือบริวารของยาย เมื่อยายตายโลกมนุษย์แล้ว วิมานนี้ อาหารนี้ พร้อมทั้งบริวารเหล่านี้จะเป็นของยาย ด้วยหวังจะให้ยายยินดี แต่ยายกลับไม่ได้รู้สึกยินดีกับวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารเหล่านั้นเลย เพราะยายเข้าใจในพระธรรม รู้ซึ้งในพระธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี ยายเห็นความ"ไม่เที่ยง" ยายเห็นว่าแม้แต่พรหมชั้นสูงสุดที่มีอายุยาวนานถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป พระพุทธเจ้าท่านก็เรียกว่า “ท่านผู้มีอายุ" คือยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปเมื่อหมดอายุก็ต้องจุติ(ดับ,ตาย)จากภพนั้นและมีกำเนิดในภพอื่นต่อไป ยายเห็นว่าความสุขนั้นเป็น "วิปรินามธรรม ที่สามารถแปรเปลี่ยนกลับเป็นทุกข์ได้" ยายรู้ดีว่าบุญที่ยายทำนั้นจะเป็นเครื่องนำไปสู่สุคติสวรรค์ และยายอาจจะได้เสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั่วอายุหนึ่ง อาจจะสัก ๒๕๐๐ ปี แต่เมื่อหมดอายุจากภพนั้นแล้ว ยายกลัวว่ายายอาจจะได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในสมัยกลียุค เป็นยุคที่โลกมนุษย์มีแต่ความทุกข์ยากลำบาก เป็นยุคที่ไม่มีธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว เป็นยุคที่พุทธศาสนาครบ ๕๐๐๐ ปีแล้ว ศาสนาพุทธเสื่อมไปแล้วตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงพยากรณ์ไว้ ยายกลัวว่าจะประสบกับความทุกข์ในช่วงสมัยนั้น กลัวว่าจะไม่ได้พบกับสัจจธรรมในช่วงสมัยนั้น ยายจึงไม่รู้สึกยินดีในวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารเหล่านั้น เมื่อเห็นในทุกข์อันเกิดจากภพ ยายจึงไม่ปรารถนาในภพ ยายปรารถนาที่จะออกจากภพ จึงเพียรศึกษาพระธรรม เพียรปฏิบัติตามองค์มรรควิธี เพื่อให้ถึงซึ่งความดับแห่งภพ เวลาที่ยายทำบุญบริจาคทาน ยายก็ไม่ปรารถนาในภพ ไม่ปรารถนาว่าจะได้ไปสู่วิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวารในภพใดๆ เพราะยายรู้ดีว่านั่นคือ "ภวตัณหา"(ยินดีติดใจในภพ) ยายทำบุญบริจาคทานก็เพราะยายเพียรพยายามที่จะทำให้โลภะเบาบางลง ยายรู้ว่าการทำบุญบริจาคทานเพื่อที่จะขจัดโลภะนี้คือกุศลที่มีอานิสงส์มากกว่าบุญ ไม่ใช่เป็นแค่บุญ เพราะการทำบุญอย่างเดียวไม่อาจทำให้ยายหลุดพ้นได้ แต่กุศลคือสิ่งที่ทำให้ยาย คิด พูด และกระทำสิ่งใดๆอย่างฉลาด รู้เท่าทัน โลภะ โทสะ โมหะ ต่างหากจะทำให้ยายหลุดพ้นได้ นอกจากนี้ ยายยังได้เพียรเจริญเมตตาธรรมก็เพื่อที่จะทำให้โทสะเบาบางลง เพื่อขจัดโทสะให้สิ้นไป ยายเพียรทำจิตให้ผ่องใสควรแก่งาน เพื่อน้อมไปสู่วิชชา ๓ เพื่อความสิ้นอาสวะ เพื่อละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ให้ได้(เครื่องร้อยรัดสัตว์๑๐ อย่างให้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะ)
"เพื่อบรรลุโสดาบันในชาตินี้ ซึ่งจะไม่มีความเสื่อมลงได้อีก เพื่อบรรลุสกทาคามีในชาตินี้ ซึ่งจะกลับมาเกิดในโลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพื่อบรรลุอนาคามีในชาตินี้ ซึ่งจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในสวรรค์ชั้นพรหมสุทธาวาส ไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีก เพื่อบรรลุอรหันต์นิพพานในชาตินี้" เพราะจุดมุ่งหมายของยาย คือปรมัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ นิพพาน ยายเพียรทำอยู่อย่างนี้โดยที่ยายไม่ได้คำนึงถึง ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในปัจจุบัน และสัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในภายหน้าเลย "เพราะยายรู้ดีว่า ประโยชน์สองอย่างนี้ยายจะพึงมีพึงได้อยู่แล้วจากการกระทำที่ดีเป็นบุญเป็นกุศลในปัจจุบันของยายโดยไม่จำเป็นต้องเพ่งเล็งขวนขวาย นี่คือจุดมุ่งหมายของยายผู้ไม่ยินดีในวิมาน อาหาร พร้อมทั้งบริวาร ในสุคติภพใดๆ" และยายได้กล่าวภาษิตฝากถึงผู้ที่ยังปรารภนาในประโยชน์ว่า
“ ผู้ไม่เห็นในทุกข์ ย่อมไม่ปรารถนาที่จะออกจากทุกข์
ผู้ไม่เห็นในคุณของพระนิพพาน ย่อมไม่ปรารถนาปรมัตถประโยชน์
ผู้ไม่เห็นในปรมัตถประโยชน์ ย่อมไม่ปรารภความเพียร"
(ที่มา..แหล่งรวบรวมกรณีศึกษาจิต วิญญาณ ชีวิตหลังความตาย และการเกิดใหม่)
Monday, 23 August 2010
Wednesday, 18 August 2010
บิดามารดาเป็นพรหมของบุตร
พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร
อาหุเนยฺย จ ปุตฺตานํ ปชาย อนุกมฺปกา
มารดา บิดา ท่านว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์
เป็นที่นับถือของบุตร และเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร
พุทธภาษิตจาก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พรหมสูตร ข้อ ๔๗๐)
มารดาบิดา นั้นหนา น่าชื่นชม เพราะเป็นพรหม ของบุตร ทั้งชายหญิง
เป็นอาจารย์ สอนให้ดู ให้รู้จริงในสรรพสิ่ง ก่อนผู้อื่น ทั้งคืนวัน
เป็นผู้ควร เคารพ สักการะ ดุจดังพระ ของบุตร สุดสร้างสรรค์
สงเคราะบุตร ให้มีสุข ทุกคืนวัน เพราะฉะนั้น บุตรทั้งผอง ต้องบูชา
มารดาบิดา เป็นพรหมของบุตร เพราะท่านมีพรหมวิหารธรรม คือเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แก่บุตร พระพรหมที่เกิดอยู่ในพรหมโลก มีพรหมวิหารธรรม แก่สัตว์โลกฉันใด มารดาบิดาก็มีพรหมวิหารธรรมแก่บุตรฉันนั้นเหมือนกัน.
ในเวลาที่บุตรอยู่ในครรภ์ มารดาบิดาจะเกิดเมตตาจิตคิดว่า เมื่อไหร่หนอเราจะได้เห็นบุตรน้อยปลอดภัย มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบบริบูรณ์ เมื่อบุตรน้อยยังเยาว์นอนแบเบาะ มีเลือดไรไต่ตอม หรือนอนกระสับกระส่าย ส่งเสียงร้องจ้า มาดาบิดาได้ยินเสียงบุตรนั้นแล้ว, จะเกิดความกรุณา ในเวลาที่บุตรเจริญเติบโตอยู่ในวัยหนุ่มสาว, มารดาบิดามองดูบุตรด้วยความรื่นเริงใจ มีมุทิตาจิตพลอยยินดีต่อบุตร เมื่อบุตรมีครอบครัว เมื่อนั้น มารดาบิดาจะเกิดความวางใจว่า บัดนี้บุตรของเราสามารถอยู่ได้ตามลำพังแล้ว เวลานั้นมารดาบิดาจะมีอุเบกขาเฉยต่อบุตร.
มารดาบิดา เป็นผู้ควรได้รับการบูชา คือควรได้รับข้าวน้ำ เป็นต้น ที่บุตรนำไปบูชาท่าน เป็นการตอบแทนคุณท่านด้วย และมารดาบิดานั้นจะเป็นผู้คอยอนุเคราะห์บุตรอยู่เสมอ แม้บุตรจะเจริญเติบโตแล้วก็ตาม เมื่อบุตรมีเรื่องเดือดร้อนอย่างไร ท่านก็จะคอยช่วยเหลืออย่างเต็มที่เสมอ.
มีพุทธดำรัสตรัสเป็นคาถาต่อไปว่า
ตสฺมา หิ เน นมสฺเสยฺย สกฺกเรยฺยาถ ปณฺหิโต
อนฺเนน อถ ปาเนน วตฺเถน สยเนน จ
อุจฺฉาทเนน นฺหาปเนน ปาทานํ โธวเนน จ
เพราะเหตุนั้นแหละ บุตรผู้มีปัญญา
พึงนอบน้อมสักการะท่าน ด้วยข้าว ด้วยน้ำ ด้วยผ้า ด้วยที่นอน
ด้วยเครื่องอบ ด้วยการสนานกาย และด้วยการล้างเท้า
ตาย ปริจริยาย มาตาปิตูสุ ปณฺฑิตา
อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทตีติ
เพราะการบำรุงมารดาบิดานั้น
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุตรนั้นในโลกนี้ทีเดียว
บุตรนั้นละไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
ตามที่ได้กล่าวมานี้ ก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า มารดาบิดามีความสำคัญต่อบุตรเป็นอันมาก ถ้าบุตรไม่รู้จักบำรุงหรือปฏิบัติต่อท่านให้ดีแล้ว ก็จะเกิดโทษแก่ตัวเอง แต่ถ้าบุตรที่ดีมีปัญญารู้จักบำรุงท่านให้ดีแล้ว ก็จะได้บุญกุศลเป็นอันมาก และได้รับประโยชน์ และความสุขทั้งในชาตินี้และชาติหน้าอย่างแน่แท้.
อาหุเนยฺย จ ปุตฺตานํ ปชาย อนุกมฺปกา
มารดา บิดา ท่านว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์
เป็นที่นับถือของบุตร และเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร
พุทธภาษิตจาก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พรหมสูตร ข้อ ๔๗๐)
มารดาบิดา นั้นหนา น่าชื่นชม เพราะเป็นพรหม ของบุตร ทั้งชายหญิง
เป็นอาจารย์ สอนให้ดู ให้รู้จริงในสรรพสิ่ง ก่อนผู้อื่น ทั้งคืนวัน
เป็นผู้ควร เคารพ สักการะ ดุจดังพระ ของบุตร สุดสร้างสรรค์
สงเคราะบุตร ให้มีสุข ทุกคืนวัน เพราะฉะนั้น บุตรทั้งผอง ต้องบูชา
มารดาบิดา เป็นพรหมของบุตร เพราะท่านมีพรหมวิหารธรรม คือเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แก่บุตร พระพรหมที่เกิดอยู่ในพรหมโลก มีพรหมวิหารธรรม แก่สัตว์โลกฉันใด มารดาบิดาก็มีพรหมวิหารธรรมแก่บุตรฉันนั้นเหมือนกัน.
ในเวลาที่บุตรอยู่ในครรภ์ มารดาบิดาจะเกิดเมตตาจิตคิดว่า เมื่อไหร่หนอเราจะได้เห็นบุตรน้อยปลอดภัย มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบบริบูรณ์ เมื่อบุตรน้อยยังเยาว์นอนแบเบาะ มีเลือดไรไต่ตอม หรือนอนกระสับกระส่าย ส่งเสียงร้องจ้า มาดาบิดาได้ยินเสียงบุตรนั้นแล้ว, จะเกิดความกรุณา ในเวลาที่บุตรเจริญเติบโตอยู่ในวัยหนุ่มสาว, มารดาบิดามองดูบุตรด้วยความรื่นเริงใจ มีมุทิตาจิตพลอยยินดีต่อบุตร เมื่อบุตรมีครอบครัว เมื่อนั้น มารดาบิดาจะเกิดความวางใจว่า บัดนี้บุตรของเราสามารถอยู่ได้ตามลำพังแล้ว เวลานั้นมารดาบิดาจะมีอุเบกขาเฉยต่อบุตร.
มารดาบิดา เป็นผู้ควรได้รับการบูชา คือควรได้รับข้าวน้ำ เป็นต้น ที่บุตรนำไปบูชาท่าน เป็นการตอบแทนคุณท่านด้วย และมารดาบิดานั้นจะเป็นผู้คอยอนุเคราะห์บุตรอยู่เสมอ แม้บุตรจะเจริญเติบโตแล้วก็ตาม เมื่อบุตรมีเรื่องเดือดร้อนอย่างไร ท่านก็จะคอยช่วยเหลืออย่างเต็มที่เสมอ.
มีพุทธดำรัสตรัสเป็นคาถาต่อไปว่า
ตสฺมา หิ เน นมสฺเสยฺย สกฺกเรยฺยาถ ปณฺหิโต
อนฺเนน อถ ปาเนน วตฺเถน สยเนน จ
อุจฺฉาทเนน นฺหาปเนน ปาทานํ โธวเนน จ
เพราะเหตุนั้นแหละ บุตรผู้มีปัญญา
พึงนอบน้อมสักการะท่าน ด้วยข้าว ด้วยน้ำ ด้วยผ้า ด้วยที่นอน
ด้วยเครื่องอบ ด้วยการสนานกาย และด้วยการล้างเท้า
ตาย ปริจริยาย มาตาปิตูสุ ปณฺฑิตา
อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทตีติ
เพราะการบำรุงมารดาบิดานั้น
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุตรนั้นในโลกนี้ทีเดียว
บุตรนั้นละไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
ตามที่ได้กล่าวมานี้ ก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า มารดาบิดามีความสำคัญต่อบุตรเป็นอันมาก ถ้าบุตรไม่รู้จักบำรุงหรือปฏิบัติต่อท่านให้ดีแล้ว ก็จะเกิดโทษแก่ตัวเอง แต่ถ้าบุตรที่ดีมีปัญญารู้จักบำรุงท่านให้ดีแล้ว ก็จะได้บุญกุศลเป็นอันมาก และได้รับประโยชน์ และความสุขทั้งในชาตินี้และชาติหน้าอย่างแน่แท้.